ประวัติศาสตร์สุโขทัย ตามตำนานกล่าวว่าพระยาพาลีราชเป็นผู้ตั้งเมืองสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1043 และมีกษัตริย์ปกครองต่อกันมาหลายองค์ ถึงสมัยพระยาอภัยขอมลำพูนมารุกรานพระยาอภัยจึงหนีขอมไปจำศีลอยู่ที่เขาหลวงและไปได้สาวชาวป่าชื่อนางนาคเป็นชายา ต่อมาพระยาอภัยก็กลับสุโขทัยเพื่อครองเมืองตามเดิม และได้มอบผ้ากำพลกับพระธำมรงค์ไว้ให้นางนาคเป็นที่ระลึก เมื่อพระยาอภัยกลับไปแล้ว นางนาคก็ให้กำเนิดบุตรชายแต่ไม่รู้จะเก็บลูกไว้ที่ไหน จึงทิ้งลูกไว้ที่เขาหลวงพร้อมผ้ากำพล และพระธำมรงค์ พรานป่าคนหนึ่งไปพบจึงนำกลับมาเลี้ยง
ฝ่ายพระยาอภัยเมื่อกลับไปครองเมืองดังเดิมแล้วก็ได้เกณฑ์ชาวบ้านไปช่วยกันสร้างปราสาท นายพรานถูกเกณฑ์ไปด้วย ระหว่างการก่อสร้างปราสาทนายพรานได้วางเด็กน้อยไว้ข้างปราสาทนั้น เมื่อแสงแดดส่องถูกเด็กน้อยยอดปราสาทก็โอนเอนมาบังร่มให้เด็กอย่างอัศจรรย์ พระอภัยมาดูเหตุพบกุมารพร้อมผ้ากำพลและพระธำมรงค์จึงได้ขอเด็กไปเป็นบุตร ตั้งชื่อให้ว่าอรุณกุมาร
พระยาอภัยมีโอรสอีกองค์หนึ่งกับมเหสีใหม่ชื่อว่า ฤทธิกุมาร ต่อมาภายหลังได้ไปครองเมืองนครสวรรค์และมีนามใหม่ว่าพระลือ ส่วนอรุณกุมารไปได้ธิดาเมืองศรีสัชนาลัยเป็นชายาจึงไปครองศรีสัชนาลัยมีนามใหม่ว่า พระร่วงโรจนฤิทธิ์ พร้อมทั้งย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย พระร่วงโรจนฤทธิ์ได้เสด็จไปเมืองจีนและได้พระสุทธิเทวีราชธิดากรุงจีนมาเป็นชายาอีกองค์หนึ่ง พร้อมทั้งได้นำช่างชาวจีนกลับมาตั้งเตาทำถ้วยชามที่ศรีสัชนาลัย ซึ่งเรียกว่าเตาทุเรียง ครั้งถึงปี พ.ศ. 1560 ขอมมารุกราน ศรีสัชนาลัย มีขอมดำดินมาจะจับพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระร่วงจึงสาบให้ขอมกลายเป็นหินอยู่ตรงนั้น
เมื่อสิ้นยุคพระร่วงโรจนฤทธิ์แล้ว ก็มีกษัตริย์ปกครองต่อมา คือพระเจ้าพสุจราชและพระธรรมไตรโลกและราชวงศ์กษัตริย์ก็ขาดลง บรรดาขุนนางจึงได้ไปเชิญพระร่วงซึ่งบวชอยู่ที่สุโขทัยมาครองเมือง ชื่อว่า พระยาศรีจันทราธิบดี
พระร่วงองค์นี้เป็นบุตรของนายคงเครา นายกองส่งส่วยน้ำเสวยให้แก่ขอมที่ละโว้ ชาวบ้านเรียกว่า พระร่วงวาจาสิทธิ์ เมื่ออายุ 11 ปี พระร่วงพายเรือเล่นในน้ำที่ไหลเชี่ยวเมื่อหมดแรงพาย ได้สั่งให้น้ำไหลย้อนทางน้ำก็ไหลย้อนพาเรือพระร่วงกลับมาถึงบ้านได้ พระร่วงเป็นนายกองส่งส่วยน้ำต่อจากนายคงเครา เมื่อขนส่วยไปส่งนั้นได้ใช้ชะลอมเป็นภาชนะใส่น้ำโดยที่น้ำไม่ไหลออกจากชะลอม ขอมเห็นพระร่วงมีฤทธิ์จึงได้ตามจับพระร่วง พระร่วงจึงหนีขอมไปบวชอยู่ที่สุโขทัย ระหว่างที่พระร่วงกวาดลานวัดอยู่ ขอมดำดินโผล่มาถามหาพระร่วง พระร่วงจึงสั่งให้ขอมกลายเป็นหินอยู่ตรงนั้น
เมื่อขึ้นครองเมือง พระร่วงได้ย้ายเมืองหลวงจากศรีสัชนาลัยมาที่สุโขทัย เมื่อสิ้นรัชกาลแล้วพ่อขุนนาวนำถม ได้ปกครองสุโขทัยต่อมา และสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของขอม พ่อขุนนาวนำถมและพ่อขุนศรีเมืองมานพยายามช่วยกันขับไล่ขอมจากสุโขทัยแต่ไม่สำเร็จ
ปี พ.ศ. 1800 พ่อขุนบางกลางทาวกับพ่อขุนผาเมืองสามารถขับไล่ขอมได้สำเร็จ พ่อขุนบางกลางท่าวขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัยทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
สุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงและสมัยพระยาลิไทย สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้มีการเชิญพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชมาช่วยกันประดิษฐ์ลายสือไทยเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยเอง ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นหนังสือไทยในปัจจุบัน
พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่งของคนไทย แต่อยุธยากับสุโขทัยก็ไม่ได้เป็นศัตรูกัน
ในสมัยพระยาลิไทนั้นขุนหลวงพะงั่วแห่งอยุธยาได้มาร่วมมือกันเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาให้ เจริญรุ่งเรืองมีการนิมนต์พระสงฆ์มาช่วยรวบรวมพระธรรมวินัยที่กระจัดกระจายเพราะศึกสงคราม และให้คณะสงฆ์ร่วมกันร่างไตรภูมิพระร่วงเพื่อใช้สอนพุทธบริษัทให้ทำความดี ในสมัยพระยาลิไทยนี้ได้มีการสร้างพระพุทธรูปสำคัญของไทยสามองค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศากยมุนี
ยุคหลังพระยาลิไท อาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอลง ในที่สุดจึงถูกผนวกรวมเป็นอาณาจักรเดียวกับอยุธยา เมื่ออยุธยาเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 เมืองสุโขทัยก็ยิ่งเสื่อมลง พลเมืองสุโขทัยส่วนใหญ่ อพยพหนีสงคราม
เมื่อตั้งกรุงธนบุรี สุโขทัยก็ถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ด้วย โดยไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านธานีริมแม่น้ำยม ต่อมาก็ถูกยกฐานะเป็นอำเภอธานีขึ้นอยู่กับจังหวัดสวรรคโลก พ.ศ. 2475 เปลี่ยนชื่ออำเภอธานีเป็น อำเภอสุโขทัยธานี และ พ.ศ. 2482 ยุบจังหวัดสวรรคโลกเป็นอำเภอ และยกฐานะอำเภอสุโขทัยธานีขึ้นเป็น จังหวัดสุโขทัยแทน
การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย
การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยเท่าที่ปรากฏหลักฐานแว่นแคว้น สุโขทัยได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยศูนย์กลางอำนาจของสุโขทัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน ต่อมาจึงได้ขยายตัวไปทางด้านตะวันตกบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงและทิศตะวันออกบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก
จากศิลาจารึกหลักที่ ๒ ศิลาจารึกวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ได้กล่าวถึงการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของชุมชนเมืองในลุ่มแม่น้ำยม และลุ่มแม่น้ำน่าน ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม ขุนในเมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เป็นเจ้าเมืองปกครองในฐานะเมืองขึ้น ขอมได้ครอบครองเมืองศรีสัชนาลัย และสุโขทัยเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการขยายเมือง โดยการรวบรวมเมืองเป็นเมืองคู่ ดังปรากฏเรียกในศิลาจารึกว่า “นครสองอัน” การรวมเมืองเป็นเมืองคู่นี้เป็นการรวมทรัพยากรสำหรับการขยายเมืองให้เป็นแว่นแคว้นใหญ่โตขึ้น พระองค์มีโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพระยาคำแหงพระราม เจ้าเมืองสระหลวงสองแคว (เมืองพิษณุโลก)
พ่อขุนผาเมืองน้ำ ปรากฏความในจารึกว่ากษัตริย์ขอมในสมัยนั้น ซึ่งสันนิษฐานว่า คือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑) ได้ยกราชธิดาคือ “นางสุขรมหาเทวี” ให้ เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีพร้อมทั้งพระราชทางเครื่องราชูปโภค คือพระขรรค์ชัยศรีและพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า “ศรีอินทราทิตย์ หรือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์” อาณาเขตของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม คงไม่กว้างขวางเท่าใดนัก สันนิษฐานว่า ครอบคลุมถึงเมืองฉอด (เมืองสอด) ลำพูน พิษณุโลก และอำนาจในสมัยขอมในการควบคุมเมืองในอาณาเขตในสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถมคงไม่มั่นคงนัก แต่ละเมืองคงเป็นอิสระในการปกครองตนเอง เมืองหลายเมืองคงเป็นเมืองในระบบเครือญาติ หรือเมืองที่มีสัมพันธไมตรีต่อกัน ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ คงเกิดความวุ่นวายในเมืองสุโขทัย ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งสินนิษฐานว่าอาจเป็นเจ้าเมืองลำพง ซึ่งเป็นเมืองที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึก หรืออาจเป็นขุนนางขอมที่กษัตริย์ขอมส่งมากำกับดูแลอยู่ที่สุโขทัย ได้นำกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเมืองใกล้เคียงไว้ได้ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดและพระสหายคือพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้รวมกำลังกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนบางกลางหาวยึดได้เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนผาเมืองเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ เมื่อได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้ทรงมอบเมืองสุโขทัยให้แก่พ่อขุนบางกลางหาวพร้อมทั้งพระนามที่กษัตริย์ขอมเคยแต่งตั้งพ่อขุนผาเมืองคือ “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พ่อขุนบางกลางหาว จึงได้ขึ้นครองราชย์ ณ เมืองสุโขทัย มีพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ส่วนพ่อขุนผาเมืองได้กลับไปครองเมืองราดดังเดิม
หลักฐานในศิลาจารึกกล่าวว่า หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ เมืองต่าง ๆ ในอาณาเขตของสุโขทัยได้แยกตัวเป็นอิสระ ไม่ยอมรับศูนย์อำนาจที่เมืองสุโขทัยเหมือนดังเช่นสมัยที่พ่อขุนรามคำแหงฯ ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม จังหวัดกำแพงเพชรว่า “บ้านเมืองขาด…หลายบั้น หลายท่อนแชว หลายบั้นหลายท่อน ดังเมืองพ… นกเป็นขุนหนึ่งเมืองคนที พระบาง หาเป็นขุนหนึ่ง เมืองเชียงทองหาเป็นขุนหนึ่ง…” ความแตกแยกของเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัย หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ นั้น อาจเนื่องมากจากศูนย์กลางอำนาจปราศจากความเข้มแข็ง บ้านพี่เมืองน้องใน
จากศิลาจารึกหลักที่ ๒ ศิลาจารึกวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย ได้กล่าวถึงการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองของชุมชนเมืองในลุ่มแม่น้ำยม และลุ่มแม่น้ำน่าน ในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม ขุนในเมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เป็นเจ้าเมืองปกครองในฐานะเมืองขึ้น ขอมได้ครอบครองเมืองศรีสัชนาลัย และสุโขทัยเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการขยายเมือง โดยการรวบรวมเมืองเป็นเมืองคู่ ดังปรากฏเรียกในศิลาจารึกว่า “นครสองอัน” การรวมเมืองเป็นเมืองคู่นี้เป็นการรวมทรัพยากรสำหรับการขยายเมืองให้เป็นแว่นแคว้นใหญ่โตขึ้น พระองค์มีโอรส ๒ พระองค์ คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพระยาคำแหงพระราม เจ้าเมืองสระหลวงสองแคว (เมืองพิษณุโลก)
พ่อขุนผาเมืองน้ำ ปรากฏความในจารึกว่ากษัตริย์ขอมในสมัยนั้น ซึ่งสันนิษฐานว่า คือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑) ได้ยกราชธิดาคือ “นางสุขรมหาเทวี” ให้ เพื่อสร้างสัมพันธไมตรีพร้อมทั้งพระราชทางเครื่องราชูปโภค คือพระขรรค์ชัยศรีและพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า “ศรีอินทราทิตย์ หรือ ศรีอินทรบดินทราทิตย์” อาณาเขตของกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม คงไม่กว้างขวางเท่าใดนัก สันนิษฐานว่า ครอบคลุมถึงเมืองฉอด (เมืองสอด) ลำพูน พิษณุโลก และอำนาจในสมัยขอมในการควบคุมเมืองในอาณาเขตในสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถมคงไม่มั่นคงนัก แต่ละเมืองคงเป็นอิสระในการปกครองตนเอง เมืองหลายเมืองคงเป็นเมืองในระบบเครือญาติ หรือเมืองที่มีสัมพันธไมตรีต่อกัน ภายหลังเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ คงเกิดความวุ่นวายในเมืองสุโขทัย ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งสินนิษฐานว่าอาจเป็นเจ้าเมืองลำพง ซึ่งเป็นเมืองที่ปรากฏชื่อในศิลาจารึก หรืออาจเป็นขุนนางขอมที่กษัตริย์ขอมส่งมากำกับดูแลอยู่ที่สุโขทัย ได้นำกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และเมืองใกล้เคียงไว้ได้ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดและพระสหายคือพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้รวมกำลังกันปราบปรามจนได้ชัยชนะ พ่อขุนบางกลางหาวยึดได้เมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนผาเมืองเข้ายึดเมืองสุโขทัยไว้ได้ เมื่อได้เมืองสุโขทัยแล้ว พ่อขุนผาเมืองได้ทรงมอบเมืองสุโขทัยให้แก่พ่อขุนบางกลางหาวพร้อมทั้งพระนามที่กษัตริย์ขอมเคยแต่งตั้งพ่อขุนผาเมืองคือ “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พ่อขุนบางกลางหาว จึงได้ขึ้นครองราชย์ ณ เมืองสุโขทัย มีพระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ส่วนพ่อขุนผาเมืองได้กลับไปครองเมืองราดดังเดิม
หลักฐานในศิลาจารึกกล่าวว่า หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ เมืองต่าง ๆ ในอาณาเขตของสุโขทัยได้แยกตัวเป็นอิสระ ไม่ยอมรับศูนย์อำนาจที่เมืองสุโขทัยเหมือนดังเช่นสมัยที่พ่อขุนรามคำแหงฯ ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม จังหวัดกำแพงเพชรว่า “บ้านเมืองขาด…หลายบั้น หลายท่อนแชว หลายบั้นหลายท่อน ดังเมืองพ… นกเป็นขุนหนึ่งเมืองคนที พระบาง หาเป็นขุนหนึ่ง เมืองเชียงทองหาเป็นขุนหนึ่ง…” ความแตกแยกของเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัย หลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ นั้น อาจเนื่องมากจากศูนย์กลางอำนาจปราศจากความเข้มแข็ง บ้านพี่เมืองน้องใน
อาณาจักรสุโขทัยได้แตกแยกออกถืออำนาจปกครองตนเองโดยไม่ขึ้นแก่กัน เมืองประเทศราชที่มีกำลังกล้าแข็งพากันแยกตัวเป็นอิสระ เช่นเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองหงสาวดี
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ( พ.ศ. ๑๗๖๒–๑๙๘๑) ภายหลังจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และถูกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ( พ.ศ. ๑๗๖๒–๑๙๘๑) ภายหลังจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และถูกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
ประวัติของกษัตริย์
รัชกาลที่ 1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เริ่มครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1792
ในระยะเริ่มต้นอาณาจักร ในสมัยนั้นมีอาณาเขตไม่กว้างขวางนักเมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอิสระจากขอม เจ้าเมืองต่างๆในดินแดนใกล้เคียงจึงอ่อนน้อมรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอำนาจเข้มแข็งพอ ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย จึงมีการทำสงครามขึ้น ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตากซึ่งเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพไปปราบเจ้าเมืองฉอด เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้น ในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก มีอายุ 19 ปี เข้าชนช้างกับเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า พระรามคำแหงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปกครองประชาชนในฐานะบิดากับบุตร ทั้งบิดาและบุตรมีหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศในยามสงคราม แต่ยามสงบพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร
ในระยะเริ่มต้นอาณาจักร ในสมัยนั้นมีอาณาเขตไม่กว้างขวางนักเมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอิสระจากขอม เจ้าเมืองต่างๆในดินแดนใกล้เคียงจึงอ่อนน้อมรวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย แต่เจ้าเมืองบางเมืองคิดว่าตนมีอำนาจเข้มแข็งพอ ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อกรุงสุโขทัย จึงมีการทำสงครามขึ้น ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตากซึ่งเป็นเมืองในอาณาเขตของสุโขทัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพไปปราบเจ้าเมืองฉอด เกิดสงครามครั้งสำคัญขึ้น ในการรบครั้งนี้พระราชโอรสองค์เล็ก มีอายุ 19 ปี เข้าชนช้างกับเจ้าเมืองฉอดจนได้รับชัยชนะ ทำให้กองทัพเมืองฉอดแตกพ่ายไป พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงประทานนามพระราชโอรสว่า พระรามคำแหงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปกครองประชาชนในฐานะบิดากับบุตร ทั้งบิดาและบุตรมีหน้าที่เป็นทหารป้องกันประเทศในยามสงคราม แต่ยามสงบพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร
รัชกาลที่ 2 พ่อขุนบานเมืองสวรรคตประมาณ พ.ศ. 1822
เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ระหว่างครองราชย์ ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆไว้ในอำนาจ โดยมี พระอนุชาคือ พระรามคำแหง เป็นกำลังสำคัญ
รัชกาลที่ 3 พ่อขุนรามคำแหงประมาณ พ.ศ. 1822-1841
กรุงสุโขทัยโดยการปกครองของพ่อขุนรามคำแหง มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าไปจากเดิมมาก เพราะเป็นกษัตริย์ที่มีความเข้มแข็งด้านการปกครองและใกล้ชิดราษฎร ไพร่ฟ้าประชาชนมีความอยู่ดีกินดี มีการนำระบบชลประทานมาใช้ทางการเกษตรทำให้ได้ผลผลิตดีขึ้น มีการค้าขายกับต่างประเทศ เศรษฐกิจและการเมืองมั่นคง ขยายอำนาจและอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จนได้รับการเทิดพระเกียรติว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชพระองค์ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเชี่ยวชาญด้านการศึกสงคราม จนเป็นที่เกรงขามของอาณาจักรอื่นๆเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์มีหลายเมืองยอมอ่อนน้อม ทำให้มีอาณาเขตแผ่ขยายออกไปกว้างขวางมากดังนี้ทิศเหนือ มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองแพร่ น่าน ทิศใต้ มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองคณฑี (กำแพงเพชร ) ทิศตะวันออก มีอาณาเขตครอบคลุมเมืองสระหลวง สองแควทิศตะวันตก มีอาณาเขตครอบถึงเมืองฉอด ทวายเมืองใดที่มาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารหรือยอมอ่อนน้อมโดยดีแล้ว จะทรงช่วยเหลืออุปการะพระราชทานของกินของใช้และไพร่พลบริวาร ทรงใช้หลักธรรมในการปกครองเพื่อให้ประชาชนพลเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1826 ทำให้คนไทยมีตัวหนังสือประจำชาติ มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณกรรม ทรงทำนุบำรุงศาสนาพุทธสืบต่อ รัชกาลก่อนโดยนิมนต์พระภิกษุที่เคร่งครัดในทางพระธรรมวินัยและพระปรมัตถ์จากเมืองนครศรีธรรมราชมาเป็นผู้สั่งสอน ทรงเป็นผู้นำสร้างชาติให้มั่นคงเป็นแบบอย่างต่อมาคือการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาราษฎร์ด้วยความใกล้ชิด ผู้ใดเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือให้ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูวัง จะเสด็จออกมารับเรื่องร้องทุกข์ด้วยพระองค์เอง จึงทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข ทรงให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนหัวเมืองตามโอกาสเป็นต้นว่ายกพระราชธิดาให้ มะกะโท ( พระเจ้าฟ้ารั่ว ) ผู้นำอาณาจักรขอมซึ่งเข้ามาสวามิภักดิ์
รัชกาลที่ 4 พระยาเลอไทยเริ่มครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1841
เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์ประมาณ 40 ปี พระยาเลอไทยทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน การศึกษาพระธรรมและภาษาบาลีได้เริ่มขึ้นและเจริญก้าวหน้าในรัชกาลนี้
รัชกาลที่ 5 พระยางัวนำถมสวรรคตประมาณ พ.ศ. 1890
เป็นพระอนุชาของพระยาเลอไทย เมื่อราชาภิเษกแล้วได้ทรงแต่งตั้งพระยาลิไทย พระราชโอรสของพระยาเลอไทยไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอไทยแต่ไม่สำเร็จ ตอนปลายรัชกาลจึงเกิดจลาจลขึ้น พระยาลิไทยองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัย เข้าเมืองสุโขทัยเพื่อปราบจลาจลได้จนสำเร็จ
รัชกาลที่ 6 พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย )เริ่มครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 1890สวรรคตระหว่าง พ.ศ. 1911-1917
พระราชโอรสของพระยาเลอไทย หลังจากปราบการจลาจลในกรุงสุโขทัยได้สำเร็จและขึ้นครองราชย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนในฐานะธรรมราชา ทรงยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการปกครองคือ ทรงปกครองด้วยหลักทศพิธราชธรรมเมืองสุวรรณภูมิและเมืองละโว้ ได้รวมกันตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น มีพระเจ้าอู่ทองเป็นกษัตริย์ประกาศเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัยและได้ขยายอำนาจและอาณาเขตเข้ามาจดแดนของอาณาจักรสุโขทัย อาณาเขตของสุโขทัยในสมัยของพระองค์ลดลงไปจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมากกว่าครึ่ง มีอาณาเขตดังนี้ทิศเหนือ ถึงเมืองแพร่ทิศใต้ ถึงเมืองพระบางทิศตะวันออก ถึงแดนอาณาจักรล้านช้างทิศตะวันตก ถึงเมืองฉอดด้วยเหตุที่อาณาจักรอยุธยา มีกำลังอำนาจเข้มแข็งและขยายอาณาเขตรุกเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย พระยาลิไทยจึงจำเป็นต้องสะสมเสบียงอาหารเพื่อการรักษาอาณาจักร มีการขยายพื้นที่ทำกินของราษฎรเพิ่มขึ้น มีการตัดถนนเพื่อใช้ในการคมนาคม และใช้พื้นที่สองฟากถนนทำไร่ ทำนาเป็นการเพิ่มผลผลิต ทรงเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก ทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทรงสร้างพระพุทธบาทโดยจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากลังกา ทรงนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งจัดเป็นวรรณคดีล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนเห็นผลของการประพฤติดีและการประพฤติชั่ว
รัชกาลที่ 7 พระมหาธรรมราชาที่ 2ประมาณ พ.ศ. 1917-1942
พระมหาธรรมราชาที่ 2 ขึ้นครองราชย์นั้น ขุนหลวงพะงั่วแห่งอาณาจักรอยุธยา มีพระราชประสงค์จะรวบรวมชนชาติไทยให้เกิดเป็นปึกแผ่นเป็นอาณาจักรเดียวกัน จึงยกทัพเข้ารุกรานกรุงสุโขทัยหลายครั้ง พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงเห็นว่าจะสู้รบต่อไปไม่ได้ จึงยอมอ่อนน้อม ต่ออยุธยา พระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว)จึงโปรดให้ครองกรุงสุโขทัยต่อไปในฐานะเมืองประเทศราชจนกระทั่งถึง พ.ศ.1931 กรุงสุโขทัย จึงประกาศตนเป็นอิสระจากอยุธยา
รัชกาลที่ 8 พระมหาธรรมราชาที่ 3(ไสลือไทย)ประมาณ พ.ศ. 1942 – 1962
พระองค์ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ พระยาบาลเมือง กับพระยาราม แต่มิได้ทรงแต่งตั้งให้พระองค์ใดเป็นรัชทายาท ดังนั้น เมื่อเสด็จสวรรคต พระยาบาลเมืองกับพระยาราม จึงแย่งชิงราชสมบัติกัน เป็นโอกาสให้สมเด็จพระอินทราชาแห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จมาระงับการจลาจล ทรงอภิเษกให้พระยาบาลเมืองเป็นกษัตริย์ เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อย สมเด็จพระอินทราชาทรงขอพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา พระราชโอรสของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยกับราชวงศ์สุวรรณภูมิ แห่งกรุงศรีอยุธยามีความเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกัน
รัชกาลที่ 9 พระมหาธรรมราชาที่ 4(บรมปาล)ประมาณ พ.ศ. 1962 – 1981
พระยาบาลเมืองได้รับอภิเษกให้ครองกรุงสุโขทัยในฐานะประเทศราชของอยุธยา ทรงพระนามว่าพระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชา นับว่าพระองค์ได้ทรงเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 เมื่อพระองค์สวรรคตใน พ.ศ. 1981 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระราเมศวร พระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระอัครชายาที่เป็นพระธิดาของ พระมหาธรรมราชาที่ 3 ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ทำให้อาณาจักรสุโขทัย รวมกับอาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรเดียวกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และนับเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรสุโขทัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น